We use cookies, including cookies from third parties, to enhance your user experience and the effectiveness of our marketing activities. These cookies are performance, analytics and advertising cookies, please see our Privacy and Cookie policy for further information. If you agree to all of our cookies select “Accept all” or select “Cookie Settings” to see which cookies we use and choose which ones you would like to accept.
คุณภาพอากาศภายในอาคาร (IAQ): เหตุใดจึงมีความสำคัญอย่างมาก
ทุกวันนี้ คนส่วนใหญ่ค่อนข้างคุ้นเคยกับแนวคิดในการปกป้องสิ่งแวดล้อม และคนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ก็รู้สึกเบื่อหน่ายกับผลกระทบของมลพิษ รวมถึงความจำเป็นในการจำกัดผลกระทบที่เป็นอันตราย ปัญหาหนึ่งที่ไม่ค่อยมีใครรับรู้ก็คือมลพิษในอากาศภายในอาคารและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพของคนเรา
IAQ เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงอากาศภายในอาคาร ซึ่งในตอนนี้เราเพิ่งจะตระหนักถึงภัยคุกคามที่เป็นอันตรายจากศัตรูที่มองไม่เห็นนี้ คุณภาพอากาศภายในอาคารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับการพิจารณาสภาพแวดล้อมภายในอาคารในทุกพื้นที่ ตั้งแต่โรงพยาบาลและสถานพยาบาล ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็นพิเศษ ไปจนถึงสถานที่ธรรมดาๆ ที่เราใช้ชีวิตในแต่ละวัน เช่น ร้านกาแฟ ร้านอาหาร และสำนักงาน
ตัวเลขดังกล่าวแสดงสถิติเกี่ยวกับคุณภาพอากาศภายในอาคาร IAQ เป็นตัวเลข อากาศภายในอาคารอาจมีมลพิษมากกว่าอากาศภายนอกอาคาร 5 ถึง 10 เท่า1) ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศภายในอาคารประมาณ 3.8 ล้านคน ตามข้อมูลล่าสุดขององค์การอนามัยโลกเมื่อปี 2021 ที่อ้างอิงถึง 20162) มลพิษทางอากาศภายในอาคารก่อให้เกิดการเสียชีวิตเนื่องจากลักษณะอาการดังต่อไปนี้ 3) 34% โรคหลอดเลือดสมอง 26% โรคหัวใจขาดเลือด 22% โรคทางพันธุกรรม 12% การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลันในเด็ก 6% คนเป็นมะเร็งปอดที่ใช้เวลามากในพื้นที่ที่มีการระบายอากาศไม่ดีมีความเสี่ยงสูงขึ้น 50% ในการเกิดโรคภูมิแพ้ 4) ประชากรในประเทศอุตสาหกรรมจำนวน 25 ถึง 30% ได้รับผลกระทบจากโรคภูมิแพ้ 5) 1) Source: http://leparticulier.lefigaro.fr/article/l-air-ambiant-du-logement-est-cinq-fois-plus-pollue-que-l-air-exterieur/ 2) ที่มา: https://ourworldindata.org/data-review-air-pollution-deaths 3) ที่มา: https://www.who.int/news-room/questions-and-answers/item/air-pollution-indoor-air-pollution 4) ที่มา: https://www.evia.eu/wp-content/uploads/EVIA-EU-MANIFESTO-2019.pdf 5) ที่มา: https://www.ademe.fr/expertises/air-bruit/chiffres-cles-observations/chiffres-air-interieu
จากข้อมูลล่าสุดของ WHO ที่อ้างอิงถึงปี 2016 มลพิษทางอากาศภายในอาคารเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดต่อสุขภาพของมนุษย์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และคร่าชีวิตผู้คนมากถึง 3.8 ล้านคนในแต่ละปี พวกเขาตระหนักถึงความเสี่ยงที่กำลังจะเกิดขึ้นของคุณภาพอากาศภายในอาคารเช่นกัน โดยกล่าวเพิ่มเติมว่ามีผู้เสียชีวิตราว 3.8 ล้านคนต่อปี ซึ่งอาจเป็นผลสืบเนื่องมาจากคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ไม่ดี และอาจเป็นปัญหาที่รุนแรงกว่าคุณภาพอากาศภายนอก อีกทั้งความเสียหายประเภทนี้มีผลกระทบสืบเนื่องมากมาย เช่น ภาระที่เพิ่มขึ้นในระบบการรักษาพยาบาล
มลพิษภายนอกอาคารที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพของอากาศภายในอาคาร อาจเป็นสาเหตุของปัญหาโดยทั่วไป เช่น หมอกควัน หรือฝุ่นละอองจากไซต์ก่อสร้าง การจราจรติดขัด รวมถึงสารอินทรีย์อื่นๆ เช่น ละอองเกสรและใบไม้จากพืช
1) who.int/news-room/fact-sheets/detail/household-air-pollution-and-health
แม้ว่าในตอนแรกจะไม่ใช่แนวคิดที่เข้าใจได้ง่ายนัก แต่จะชัดเจนขึ้นเมื่อมีการคิดใคร่ครวญสักเล็กน้อย เนื่องจากคุณภาพอากาศภายในอาคารนอกจากจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากส่วนประกอบภายนอกที่ทำลายคุณภาพอากาศภายนอกอาคารเท่านั้น ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับวัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ และสิ่งมีชีวิตที่สัมผัสกันในระยะประชิดอีกด้วย สารก่อมลพิษภายในอาคารอาจเกิดจากสิ่งต่างๆ เช่น วัสดุก่อสร้างที่ไม่ดี เครื่องใช้และเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านที่ชำรุดหรือเสียหาย วงจรไฟฟ้าที่ติดตั้งหรือบำรุงรักษาอย่างไม่เหมาะสม และอุปกรณ์กลไกต่างๆ รวมไปถึงภัยคุกคามจากของเหลวในร่างกายที่มาจากผู้อยู่อาศัยเอง
แหล่งที่มาเพิ่มเติมของสารก่อมลพิษทั้งภายในและภายนอกอาคารอาจมีดังต่อไปนี้*:
✓อุปกรณ์ที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิง
✓ผลิตภัณฑ์ยาสูบ
✓วัสดุก่อสร้างและการตกแต่งที่หลากหลาย เช่น:
ฉนวนใยหินที่เสื่อมสภาพ วัสดุปูพื้นที่เพิ่งติดตั้งใหม่ เบาะหรือพรม ตู้หรือเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้อัดบางชนิด
✓ผลิตภัณฑ์สำหรับการทำความสะอาดและบำรุงรักษาภายในครัวเรือน การดูแลส่วนบุคคล หรืองานอดิเรก
✓ระบบทำความร้อนและความเย็นจากส่วนกลาง และอุปกรณ์เพิ่มความชื้น
✓ความชื้นส่วนเกินจากการทำอาหารหรือสถานที่ซักล้าง
✓แหล่งที่มาภายนอกอาคาร เช่น:
เรดอน ยาฆ่าแมลง หรือมลพิษทางอากาศภายนอกอาคาร
*ข้อมูลอ้างอิง: https://www.epa.gov/indoor-air-quality-iaq/introduction-indoor-air-quality
ในบรรดาแหล่งที่มาของมลพิษต่างๆ ไวรัสและเชื้อโรค และอนุภาคต่างๆ ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อมนุษย์อย่างมีนัยสำคัญทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และทุกวันนี้หลายฝ่ายตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดการแหล่งมลพิษเหล่านี้อย่างเหมาะสม
ไวรัสแพร่กระจายผ่านการสัมผัสโดยตรงกับของเหลวในร่างกายและอากาศในรูปของอนุภาคหยด ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการไหลเวียนของอากาศและการระบายอากาศที่ออกแบบมาอย่างดีในพื้นที่ภายในอาคารอาจมีบทบาทสำคัญในการลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคในอากาศ
การไหลของอากาศ แรงลาก แรงโน้มถ่วง หยดละอองถูกพัดพาโดยการเคลื่อนที่ของอากาศและตกลงมาเนื่องจากแรงโน้มถ่วง การตกดังกล่าวถูกต้านทานโดยแรงฉุด หยดละอองระเหยกลายเป็นนิวเคลียสของหยดละออง การปั่นป่วนของอากาศทำให้ความเข้มข้นของหยดละอองเจือจางลง วิถีการทิ้งตัวของหยดละอองขนาดใหญ่จากการจาม หยดละอองตกลงบนพื้นผิวและแห้งตัว การจัดเตียงอาจทำให้อนุภาคที่แห้งฟุ้งกระจายไปในอากาศได้ 1-2 เมตร การเจือจางของอากาศที่ปนเปื้อนจากการหายใจ [ที่มา: ASHRAE.org] ทฤษฎีอากาศวิทยาสำหรับการแพร่กระจายของหยดละอองและอนุภาคขนาดเล็กในอากาศที่เกิดขึ้นจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
ก่อนที่ความกังวลเกี่ยวกับการแพร่กระจายของเชื้อโรคทางอากาศจะเริ่มขึ้น มีการเรียกร้องให้จัดการอย่างจริงจังกับค่า PM (ฝุ่นละอองขนาดเล็ก) ที่อยู่ในระดับสูงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเมืองขนาดใหญ่ เนื่องจากอนุภาค PM มีขนาดเล็กจิ๋ว ดังนั้น PM 2.5 (ขนาด 2.5 ไมโครเมตรหรือเล็กกว่า) และ 1.0 (ขนาด 1.0 ไมโครเมตรหรือเล็กกว่า) จึงสามารถทะลุผ่านซีเลีย (cilia) ในจมูกและลำคอ และถูกดูดซึมเข้าสู่ปอดและกระแสเลือดได้อย่างง่ายดาย ทำให้เป็นอันตรายอย่างมากต่อมนุษย์และสัตว์ การสัมผัสกับ PM ในระยะยาวเป็นอันตรายกว่ามากสำหรับเด็กและผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและปอด จึงนับเป็นภัยคุกคามต่อสภาวะสุขภาพของสังคมสมัยใหม่อย่างแท้จริง
HVAC ในยุคของการแพร่ระบาด
นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของ COVID 19 ส่งผลให้ IAQ กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดของ HVAC ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ประเภทใดก็ตาม ดังนั้นจึงมีการยกเครื่องครั้งใหญ่สำหรับผลิตภัณฑ์และโซลูชั่น HVAC ที่ถูกนำไปใช้งานทั่วทั้งอุตสาหกรรม
ในอดีต โซลูชั่น HVAC มุ่งเน้นที่การให้ความสะดวกสบายผ่านการทำความร้อนและความเย็นเป็นหลัก แต่ในปัจจุบัน การสร้างสรรค์นวัตกรรมมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับการระบายอากาศ รวมถึงเทคโนโลยีด้านสุขอนามัย และระบบกรองอากาศเพื่อสุขภาพและสุขอนามัย
เมื่อพูดถึงการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ เนื่องจากเชื้อโรคสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระโดยกระแสลม ดังนั้นการระบายอากาศและการฟอกอากาศในปริมาณที่เพียงพอโดยระบบ HVAC ของเราจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง มีความพยายามอย่างมากในการสร้างระบบเฝ้าระวังที่รวมฟังก์ชั่นต่างๆ เข้ากับระบบของเรา เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค
จะสามารถปรับปรุง IAQ ได้อย่างไร
เช่นเดียวกับปัญหาส่วนใหญ่ การเอาชนะอุปสรรคเพื่อคุณภาพอากาศที่เหมาะสมนั้นจำเป็นต้องอาศัยการปรับใช้แนวทางที่ครอบคลุมหลายด้าน
และด้วยเหตุนี้ เราจึงได้กำหนดให้การระบายอากาศ การฟอกอากาศ เทคโนโลยีด้านสุขอนามัย และการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นเป็นสี่เส้นทางหลักที่ช่วยยกระดับคุณภาพของอากาศภายในอาคารให้ดีขึ้น ซึ่งเมื่อใช้ร่วมกัน กลยุทธ์เหล่านี้จะช่วยให้บ้าน สำนักงาน โรงเรียน โรงพยาบาล หรือร้านค้าปลีกของคุณมีวิธีการรักษาคุณภาพอากาศที่แน่นอน
▪ การระบายอากาศ
โดยหลักแล้ว การระบายอากาศมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำจัด CO2 และสารก่อมลพิษที่เป็นก๊าซอื่นๆ ที่ไม่สามารถทำให้บริสุทธิ์ด้วยเครื่องฟอกอากาศเพียงอย่างเดียว
อย่างไรก็ตาม เพื่อลดการสูญเสียพลังงาน ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการก่อสร้างสมัยใหม่เพื่อปรับปรุงระบบกันอากาศ แต่คุณลักษณะนี้กลับยับยั้งการไหลเวียนของอากาศที่ดีต่อสุขภาพ ทำให้จำเป็นต้องใช้ระบบระบายอากาศแบบกลไกเพิ่มมากขึ้น
เช่นเดียวกับองค์ประกอบใดๆ ของ HVAC การออกแบบการระบายอากาศ ไม่ว่าจะเป็นระบบที่ทำงานเพียงลำพัง หรือเป็นส่วนหนึ่งของโซลูชั่นอาคารทั้งหมด ต้องตอบโจทย์ความต้องการของผู้อยู่อาศัยในอาคารนั้นๆ และมีผลิตภัณฑ์รุ่นต่างๆ ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับข้อกำหนดที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลการวิจัยได้พิสูจน์แล้วว่าอุปกรณ์ระบายอากาศที่แยกเฉพาะสำหรับบางพื้นที่ภายในอาคารเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยระบายอากาศโดยไม่เพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อโรค
การหมุนเวียนของอากาศด้วย AHUs และท่อต่างๆ ทำให้เชื้อโรคและสารก่อมลพิษแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่นๆ ของอาคารได้ ดังนั้น แนวทางของ ASHRAE และ REHVA จึงแนะนำว่าระบบ HVAC ควรมีการระบายอากาศส่วนบุคคลสำหรับการถ่ายเทอากาศออกจากพื้นที่ปนเปื้อน เพื่อป้องกันไม่ให้การติดเชื้อแพร่กระจาย ระบบเหล่านี้ป้องกันการหมุนเวียนของอากาศ และส่งมอบอากาศภายนอกที่บริสุทธิ์และผ่านการกรองอย่างละเอียดให้แก่ผู้อยู่อาศัยภายในอาคาร
▪ การฟอกอากาศและการกรองอากาศ
นอกเหนือจากการระบายอากาศแล้ว ยังสามารถปรับปรุง IAQ ได้ด้วยการกรองอากาศ สำหรับผู้อยู่อาศัยทั่วไป ขอแนะนำให้ปรับปรุงระบบปรับอากาศส่วนกลางและอุปกรณ์กรอง HVAC อื่นๆ ให้เป็น MERV-13 (ASHRAE 2017b) หรือระดับสูงสุดเท่าที่จะทำได้ และเพิ่มเครื่องฟอกอากาศแบบพกพาที่มีตัวกรอง HEPA หรือ MERV ระดับสูง (AHAM 2015) * ตามที่ระบุไว้ใน "เอกสารตำแหน่ง ASHRAE เกี่ยวกับละอองที่ติดเชื้อในอากาศ" แนะนำให้ใช้การกรองระดับ HEPA สำหรับอากาศหมุนเวียนภายในอาคารสำหรับสถานพยาบาล จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาที่เหมาะสมเพื่อให้ตัวกรองมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเวลาผ่านไป อนุภาคขนาดเล็ก เช่น ฝุ่นละเอียด ไม่สามารถมองเห็น และจดจำได้ยาก ดังนั้นจึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ สำหรับการตรวจจับและควบคุม เพื่อแสดงผลคุณภาพอากาศที่จะต้องปรับปรุงในการบำรุงรักษานี้ เทคโนโลยีการตรวจจับและควบคุมมักถูกมองข้าม แต่เทคโนโลยีเหล่านี้มีความสำคัญเช่นเดียวกันสำหรับการรักษาคุณภาพของ IAQ
* สมาคมผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน (สหรัฐอเมริกา)
▪ เทคโนโลยีด้านสุขอนามัย
อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จในการต่อสู้กับปัญหาอากาศภายในอาคารก็คือ การใช้เทคโนโลยีด้านสุขอนามัย
ภาพของ LG Ceiling Concealed Duct ที่กำลังทำงานในห้องประชุม
UVGI และไอออนไนเซอร์
แสงอัลตราไวโอเลตสำหรับฆ่าเชื้อโรคจะช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการกำจัดจุลินทรีย์ แสงแดดเองก็ถูกใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นอันตรายมานานแล้ว และวิธีการนี้สามารถเลียนแบบได้ด้วยการใช้ระบบ UV เฉพาะทาง ที่จริงแล้ว ระบบ UV ประเภทนี้ได้ถูกใช้งานมานานหลายทศวรรษสำหรับการกำจัดจุลินทรีย์ในโรงพยาบาล ห้องปฏิบัติการ และสถานที่อื่นๆ ที่ซึ่งอากาศที่สะอาดถูกสุขอนามัยถือเป็นส่วนสำคัญของการปฏิบัติงาน
นอกจากนี้ การปล่อยไอออนอาจเป็นอีกวิธีหนึ่งในการปรับปรุงกลไกการกรองอากาศ ไอออนพลาสมาที่ปล่อยออกมาจะหยุดการทำงานของแบคทีเรียและไวรัส ทำให้อากาศสะอาดขึ้นภายในพื้นที่ที่กำหนด ไอออนไฮโดรเจนและออกซิเจนแบบแอคทีฟจะถูกปล่อยสู่อากาศโดยตรง เพื่อช่วยลดผลกระทบของ VOC ในขณะที่ออกซิเจนจะทำให้อนุภาคที่เป็นพิษกลายสภาพเป็นกลางและสร้าง H2O
▪ การควบคุมอุณหภูมิและความชื้น
สุดท้าย การจัดการความชื้นในลักษณะเชิงรุกในสภาพแวดล้อมภายในอาคารถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้อยู่อาศัย หลักฐานทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่าการรักษาความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศไว้ที่ระหว่างช่วง 40% ถึง 60% จะมีประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพของมนุษย์ ที่ระดับความชื้นต่ำ (10%-20%) ร่างกายมนุษย์จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ช่วงระดับความชื้นดังกล่าวจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติของเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การรักษาระดับเมือกให้มีความหนืดที่เหมาะสม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการระบาดของ COVID รวมถึงการตระหนักถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต นี่จึงเป็นแง่มุมที่สำคัญอย่างยิ่งซึ่งจะต้องคำนึงถึงในการออกแบบระบบ แม้กระทั่งหลังจากที่การระบาดใหญ่สิ้นสุดลง IAQ จะกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้อีกต่อไป LG HVAC ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการดูแลสุขอนามัยและสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่สะอาดผ่านระบบที่ปรับแต่งมาเป็นอย่างดี ในตอนต่อไปของซีรีส์นี้ เราจะพูดถึงแนวทางของ LG ในการปรับปรุงคุณภาพภายในอาคารเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
บทความนี้ช่วยให้คุณเข้าใจ IAQ หรือไม่
LG ได้เผยแพร่รายงานด้านเทคนิคเกี่ยวกับ IAQ
คลิกปุ่มด้านล่างและดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวโน้ม IAQ ของอุตสาหกรรม และโซลูชั่น IAQ ของ LG
ภาพของรายงานด้านเทคนิคเกี่ยวกับ LG IAQ
*ผลิตภัณฑ์และโซลูชันอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศและสภาพการใช้งาน
กรุณาคลิกแบนเนอร์ 'สอบถามเพื่อสังซื้อ' ด้านล่างเพื่อติดต่อสำนักงาน LG ท้องถิ่นสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันและผลิตภัณฑ์